
-
ชีวิตชีวา 31 มีนาคม 2562 : สมุนไพร ใช้แทนเกลือ เพื่อให้รสเค็ม
นักวิจัยจากสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ม.เกษตรศาสตร์ วิจัยพบ “กระเทียม - มะนาว” ช่วยให้รับรสเค็มได้ดีขึ้น แม้ใส่เกลือน้อย ชี้ช่วยลดปริมาณโซเดียมในอาหาร เพื่อลดความเสี่ยงการเป็นโรคไต ความดันโลหิตสูง และโรคร้ายแรงอื่น ๆ ระบุเพิ่มสมุนไพรไทย 25 - 50% ในเมนูอาหาร จะช่วยลดปริมาณโซเดียมได้ 25% -
ชีวิตชีวา 24 มีนาคม 2562 : ยาแอนติบอดี้ รักษามะเร็ง
ปฏิวัติวงการแพทย์ หมอจุฬาฯ คิดค้น ยาแอนติบอดี้ รักษามะเร็ง ต่อยอดรางวัลโนเบล ใช้ระบบตามธรรมชาติของมนุษย์ ฆ่าเซลล์มะเร็ง ไม่ส่งผลข้างเคียงต่อคนไข้ ขณะนี้ได้ต้นแบบแล้ว แต่เป็นผลที่ปรากฏในหลอดทดลอง ยังไม่ได้นำไปทดลองในสัตว์ หรือมนุษย์ -
ชีวิตชีวา 17 มีนาคม 2562 : “ข้าวไทย” ป้องกันโรค
จากการวิจัยของสถาบันโภชนาการ ม.มหิดล พบว่า ข้าวพันธุ์พื้นเมือง ที่เป็นข้าวสีแดงจนถึงสีม่วงเข้ม มีสารสำคัญซึ่งมีสรรพคุณในการต้านอนุมูลอิสระได้สูงกว่าหรือดีเทียบเท่ากับผลไม้ตระกูลเบอรี่ ช่วยป้องกันโรค และส่งเสริมสุขภาพได้ดี -
ชีวิตชีวา 10 มีนาคม 2562 : ทุกคนทั่วไทย ไตแข็งแรง
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข สสส. และเครือข่ายลดบริโภคเค็ม ตระหนักถึงการบริโภครสเค็มของคนไทย โดยเฉพาะในเด็กที่พบว่า เป็นโรคไตเพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งปัจจุบันมีผู้ป่วยเป็นความดันโลหิตสูง 11.5 ล้านคน และโรคไต 7.6 ล้านคน โดยในปีนี้ จะจัดงานวันไตโลกและสัปดาห์วันไตโลก วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม 2562 ภายใต้คำขวัญ "ทุกคนทั่วไทย ไตแข็งแรง" -
ชีวิตชีวา 3 มีนาคม 2562 : “ยอดอ่อนมะม่วงหิมพานต์” ต้านมะเร็ง
งานวิจัย พบว่า ยอดมะม่วงหิมพานต์และใบมันปู มีสารต้านอนุมูลอิสระ มากกว่าผักขมถึง 43 เท่า และมากกว่าผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ 6 เท่า นอกจากนี้ ยังมีวิตามินซี วิตามินอี เบต้าแคโรทีน (สารตั้งต้นของวิตามินเอ) และลูทีน (บำรุงสายตา) ในปริมาณที่สูงกว่าตระกูลเบอร์รี่ด้วย ถ้ากินเป็นประจำ จะช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้ -
ชีวิตชีวา 24 กุมภาพันธ์ 2562 : “เกลืออนุภาคเล็ก” ได้รสเค็มมากขึ้น ใช้เกลือน้อยลง
การบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูง เป็นสาเหตุของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ อัมพฤกษ์อัมพาต และโรคไต มีงานวิจัยพบ "เกลืออนุภาคเล็ก" ละลายในปากเร็ว ได้รสเค็มมากขึ้น ช่วยลดปริมาณเกลือและโซเดียมลง 25% แต่ได้รสชาติความเค็มเท่าเดิม -
ชีวิตชีวา 17 กุมภาพันธ์ 2562 : คัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วย “น้ำส้มสายชู”
สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ได้เข้ารับรางวัลองค์กรภาครัฐยอดเยี่ยมแห่งสหประชาชาติ ประจำปี 2561 ณ ประเทศโมร็อกโก จากผลงาน “การป้องกันควบคุมมะเร็งปากมดลูกแบบบูรณาการ” ความสำเร็จนี้มาจากองค์ความรู้ของ ศ.กิตติคุณ พญ.คุณหญิงกอบจิตต์ ลิมปพยอม หน่วยสูติศาสตร์ – นรีเวชวิทยา รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ที่นำนวัตกรรมเรื่อง “น้ำส้มสายชู” ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก -
ชีวิตชีวา 10 กุมภาพันธ์ 2562 : ยาสามัญประจำบ้าน ข้อควรระวังในการใช้
"ยาสามัญประจำบ้าน" ที่ใช้รักษาอาการเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ สามารถหาซื้อได้ทั่วไป แม้ในร้านสะดวกซื้อ อย่างไรก็ตาม หลายคนยังขาดความรู้ที่ถูกต้องในการใช้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพตามมาได้ รายการชีวิตชีวา มีคำแนะนำในการใช้ "ยาสามัญประจำบ้าน" อย่างปลอดภัยค่ะ -
ชีวิตชีวา 3 กุมภาพันธ์ 2562 : “ไม้เท้าเลเซอร์” พลิกชีวิตผู้ป่วยพาร์กินสัน
โรค “พาร์กินสัน” เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของสมอง ซึ่งมีผลต่อการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย ผู้ป่วยจึงมีปัญหาการเคลื่อนไหวผิดปกติ โดยเฉพาะการเดิน รพ.จุฬาฯ โดย ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ ได้คิดค้น “ไม้เท้าเลเซอร์” มีคุณสมบัติจำเพาะต่อผู้ป่วยพาร์กินสันที่มีปัญหาการเดินติดขัด -
ชีวิตชีวา 27 มกราคม 2562 : “พาร์กินสัน” รู้เร็ว เพื่อการดูแลที่ดีกว่า
โรคพาร์กินสัน เป็นโรคความเสื่อมของสมอง ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาด แต่การวินิจฉัยโรคและรับการดูแลแต่เนิ่น ๆ จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยชะลออาการของโรค ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และช่วยเหลือตัวเองได้นานขึ้น -
ชีวิตชีวา 20 มกราคม 2562 : “แช่แข็งเนื้อเยื่อรังไข่” เพิ่มโอกาสผู้ป่วยมะเร็งมีทายาท
รพ.จุฬาฯ รับแช่แข็งเนื้อเยื่อรังไข่ผู้ป่วยมะเร็ง ให้บริการเป็นแห่งแรกในประเทศไทย เนื่องจากผู้ป่วยมะเร็ง เมื่อได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือการฉายรังสีรักษา อาจทำให้ไข่ถูกทำลาย ไม่สามารถมีบุตรได้ ถ้าได้แช่แข็งไข่หรือเนื้อเยื่อรังไข่ไว้ ก่อนทำการรักษา เมื่อหายจากมะเร็งแล้วอยากมีบุตร ก็สามารถทำได้ -
ชีวิตชีวา 13 มกราคม 2562 : ความสำเร็จ เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์
“เด็กหลอดแก้ว” คนแรกของประเทศไทย ให้กำเนิดทายาทด้วยวิธีธรรมชาติ เด็กแข็งแรงสมบูรณ์ดี เป็นสิ่งพิสูจน์ว่า การนำเทคโนโลยีมาช่วยในการเจริญพันธุ์ใช้ได้ผล มีความปลอดภัย ลบข้อกังวลในอดีต ที่หลายคนตั้งคำถามว่า เด็กจะเป็นอย่างไร? จะทำให้ได้มนุษย์พันธุ์ใหม่หรือไม่? อยากให้คนที่มีปัญหามีบุตรยาก มั่นใจมากขึ้นในการใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการเจริญพันธุ์ เพื่อจะได้มีทายาทได้ เทคโนโลยีที่ช่วยในการเจริญพันธุ์ มีอะไรบ้าง และมีการพัฒนาไปอย่างไร ติดตามในรายการชีวิตชีวา -
ชีวิตชีวา 6 มกราคม 2562 : วิจัยตำรับยาไทยมีส่วนผสมกัญชา
กรมการแพทย์แผนไทยฯ ได้รวบรวมตำรับยาที่มีกัญชาเป็นส่วนผสม และเตรียมนำตำรับยามาวิจัย ได้แก่ 1. ตำรับศุขไสยาศน์ 2. ตำรับทำลายพระสุเมรุ 3. ตำรับน้ำมันสนั่นไตรภพ และ 4. ตำรับทัพยาธิคุณ หลังจากที่มีการปลดล็อคกัญชาให้ใช้ทางการแพทย์ เพื่อศึกษาและดูผลการรักษาดีอย่างไร -
ชีวิตชีวา 30 ธันวาคม 2561 : แพทย์ทางเลือกกับการรักษามะเร็ง ตอน 2
ปัจจุบัน การรักษาโรคมะเร็งมีการพัฒนามากขึ้น มีการศึกษาวิจัยสมุนไพรต่าง ๆ เพื่อค้นหาตัวยาที่จะนำมาใช้ต่อสู้กับมะเร็ง เพื่อนำมาใช้ร่วมกับการรักษาแบบแผนปัจจุบัน รศ.นพ.นรินทร์ วรวุฒิ หน่วยมะเร็งวิทยา รพ.จุฬาฯ มีคำแะนำ ติดตามได้ในรายการชีวิตชีวาค่ะ -
ชีวิตชีวา 23 ธันวาคม 2561 : แพทย์ทางเลือกกับการรักษามะเร็ง ตอน 1
ปัจจุบัน การรักษาโรคมะเร็งมีการพัฒนามากขึ้น ยาก็มีคุณภาพมากขึ้น รวมทั้งมีการนำแพทย์ทางเลือกเข้ามาใช้ ร่วมกับการรักษาแบบแผนปัจจุบันด้วย เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น รศ.นพ.นรินทร์ วรวุฒิ หน่วยมะเร็งวิทยา รพ.จุฬาฯ มีคำแะนำ ติดตามได้ในรายการชีวิตชีวาค่ะ -
ชีวิตชีวา 16 ธันวาคม 2561 : รักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ฟรี
ศูนย์สิริกิติ์บรมราชินีนาถ เพื่อโรคมะเร็งเต้านม รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จัดโครงการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ให้ผู้หญิงไทยที่มีฐานะยากจนที่ตรวจพบเป็น “มะเร็งเต้านม” และยังไม่เคยรักษาที่ไหนมาก่อน ถ้าผ่านการพิจารณา จะได้รับการรักษาฟรี โดยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ อุปกรณ์ทันสมัยครบครัน เทียบเท่าผู้ป่วยที่ฐานะทางการเงินดีทุกประการ และสำหรับผู้ป่วยที่เดินทางมาจากต่างจังหวัด จะได้รับการสนับสนุนค่าเดินทางและค่าที่พักตลอดการรักษา สอบถามสิทธิ์เพื่อเข้ารับการพิจารณาได้ที่ โทร. 02-256-4671 (วันและเวลาราชการ) -
ชีวิตชีวา 9 ธันวาคม 2561 : ปวดท้อง! โรคกระเพาะหรือมะเร็งกระเพาะอาหาร
เมื่อปวดท้อง แน่นท้อง จุกเสียด อาหารไม่ย่อย อย่าชะล่าใจว่า เป็นแค่ “โรคกระเพาะอักเสบ” ที่กินยาโรคกระเพาะแล้วก็หาย เพราะอาการดังกล่าว อาจบอกถึงความเสี่ยงของการเป็น “มะเร็งกระเพาะอาหาร” ได้เหมือนกัน แล้วจะสังเกตตัวเองได้อย่างไรว่า เข้าข่ายเป็นโรคไหนกันแน่ ศ.ดร.นพ.ประกิตพันธุ์ ทมทิตชงค์
จากแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีคำแนะนำค่ะ -
ชีวิตชีวา 2 ธันวาคม 2561 : สิ่งที่ควรรู้ ก่อนนวดแผนไทย
หลายคนชอบเข้าร้านนวดแผนไทย นวดแล้วสบายตัว หายเมื่อย แต่ก็ต้องระวังด้วย เนื่องจากบางคนอาจไม่สามารถรับบริการนวดได้ อย่างเช่นเหตุการณ์ที่มีชายหนุ่มไปใช้บริการนวดแผนไทยแล้วเสียชีวิต การรับบริการนวดแผนไทย ควรระมัดระวังเรื่องใด ใครบ้างที่ไม่ควรนวด และมีข้อห้ามอะไรบ้าง ติดตามในรายการชีวิตชีวาค่ะ -
ชีวิตชีวา 25 พฤศจิกายน 2561 : N040 ตำรับยารักษา "มะเร็งปากมดลูก"
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้นำตำรับยาสมุนไพร มาต่อยอดทำการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ทั้งในหลอดทดลอง ในสัตว์ทดลอง และการวิจัยในคนป่วย โดยตำรับยา N040 มีสรรพคุณในการรักษา "มะเร็งปากมดลูก" -
ชีวิตชีวา 18 พฤศจิกายน 2561 : “เบญจอำมฤตย์” ตำรับยารักษามะเร็งตับ
ปัจจุบัน โรคมะเร็ง ยังไม่มีตำรับยาสมุนไพรที่ขึ้นทะเบียนเป็นยารักษามะเร็ง แต่ทางกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้สืบค้นตำรับยาสมุนไพรและนำมาวิจัยทั้งในหลอดทดลอง ในสัตว์ทดลอง และขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการวิจัยในคน นั่นก็คือ ตำรับยา “เบญจอำมฤตย์” ซึ่งมีสรรพคุณในการรักษา "มะเร็งตับ" -
ชีวิตชีวา 11 พฤศจิกายน 2561 : “สมองเสื่อม” สิ่งที่คนทั่วไปไม่รู้ ตอน 4
ตอนสุดท้ายกับเรื่องน่ารู้ของโรค "สมองเสื่อม" ที่ทำให้เรารู้ว่า ยาบางอย่าง เช่น ยาลดกรด ยาแก้แพ้ ยาแก้โรคซึมเศร้า แม้กระทั่งยารักษาโรคสมองเสื่อมเอง ก็เป็นต้นเหตุทำให้คนเราสมองเสื่อมได้ รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ อีก มีอะไรบ้าง ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา รพ.จุฬาลงกรณ์ มีคำแนะนำค่ะ -
ชีวิตชีวา 4 พฤศจิกายน 2561 : “สมองเสื่อม” สิ่งที่คนทั่วไปไม่รู้ ตอน 3
ตอนที่ 3 กับเรื่องน่ารู้ของโรค "สมองเสื่อม" ในแง่มุมที่คนส่วนมากไม่รู้ งานวิจัยใหม่ ๆ ของต้นเหตุและปัจจัยที่ทำให้สมองเสื่อม และถ้าเราจะป้องกันหรือชะลอความเสื่อมของสมอง ทำได้อย่างไรบ้าง ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา รพ.จุฬาลงกรณ์ มีคำแนะนำค่ะ -
ชีวิตชีวา 28 ตุลาคม 2561 : “สมองเสื่อม” สิ่งที่คนทั่วไปไม่รู้ ตอน 2
นอกจากการอักเสบในลำไส้ จะเป็นต้นเหตุที่ทำให้ "สมองเสื่อม" แล้ว ยังมีปัจจัยอื่นด้วย นั่นก็คือ อาหารที่เรารับประทาน อาหารอะไรบ้างที่ควรหลีกเลี่ยง และอาหารประเภทใดที่กินแล้วจะช่วยป้องกัน "สมองเสื่อม" ได้ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา รพ.จุฬาลงกรณ์ มีคำแนะนำค่ะ -
ชีวิตชีวา 21 ตุลาคม 2561 : “สมองเสื่อม” สิ่งที่คนทั่วไปไม่รู้
“สมองเสื่อม” เป็นโรคน่ากลัว เนื่องจากป้องกันก็ไม่ได้ เมื่อเป็นไปแล้วอาการจะเลวร้ายลงเรื่อย ๆ จนช่วยตัวเองไม่ได้ ซึ่งคนทั่วไปจะรู้แค่ว่า สมองของคนเราเสื่อมไปตามวัย แต่มีการค้นพบใหม่ว่า การอักเสบในลำไส้ ก็เป็นอีกหนึ่งต้นเหตุของอาการสมองเสื่อ -
ชีวิตชีวา 14 ตุลาคม 2561 : เมื่อท้องเสีย ควรทำอย่างไร
อาการท้องเสียที่มีสาเหตุมาจากอาหารเป็นพิษ เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับใครก็ได้ หลายคนเมื่อเกิดอาการท้องเสีย แต่ดูแลตนเองไม่ถูกต้อง และที่สำคัญ การกินเกลือแร่ต้องกินให้ถูกชนิด เพราะถ้าท้องเสียแล้วไปกินเกลือแร่สำหรับคนที่เสียเหงื่อหรือออกกำลังกาย อาจทำให้ท้องเสียมากขึ้น -
ชีวิตชีวา 7 ตุลาคม 2561 : ยา “พาราเซตามอล” ใช้มากก็ตายได้
ไม่น่าเชื่อว่า วันนี้ กระทรวงสาธารณสุขต้องประกาศทบทวนเรื่องการใช้ยาพาราเซตามอล ซึ่งเป็นยาสามัญประจำบ้าน หาซื้อง่าย ไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ ทำให้มีการใช้ยานี้มากเกินไป จนถึงกับมีผู้เสียชีวิตจากการใช้ยาพาราเซตามอล โดยสถิติปี 2558 มีผู้เสียชีวิต 960 คน และมีการใช้ยาพาราเซตามอลเพื่อฆ่าตัวตาย 791 คน
เมื่อไรควรใช้ยา และขนาดการใช้อย่างเหมาะสมเป็นอย่างไร ติดตามในรายการชีวิตชีวาค่ะ -
ชีวิตชีวา 30 กันยายน 2561 : “เส้นเลือดสมองตีบ ภัยเงียบเสี่ยงอัมพาต”
โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดสมอง เป็นโรคอันตรายอันดับต้น ๆ และพบมากขึ้นในคนยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นโรคเส้นเลือดสมองตีบ เส้นเลือดสมองตัน หรือเส้นเลือดสมองแตก สาเหตุการเกิดโรค อาการ และการป้องกันทำได้อย่างไร ศ.พญ.นิจศรี ชาญณรงค์ ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจร รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีคำแนะนำค่ะ -
ชีวิตชีวา 23 กันยายน 2561 : ยาปฏิชีวนะ อย่าใช้พร่ำเพรื่อ
ประชาชนทั่วไปมักเรียก “ยาปฏิชีวนะ” ว่าเป็น “ยาแก้อักเสบ” และมักซื้อยากลุ่มนี้มาใช้เอง โดยไม่มีข้อบ่งใช้หรือไม่สมเหตุสมผล ซึ่งในแต่ละปีคนไทยมีเชื้อดื้อยาประมาณ 88,000 คน เสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาอย่างน้อยปีละ 20,000 - 38,000 คน และยังส่งผลให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อดื้อยาต้องอยู่ในโรงพยาบาลนานขึ้น 3.24 ล้านวัน หรือเฉลี่ยคนละ 24 - 46 วัน สาเหตุมาจากการใช้ยาปฏิชีวนะไม่เหมาะสม